วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กำเนิดดวงดาว

กำเนิดดวงดาว
 
 
 
 
 
 
 
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการสำรวจดวงดาวในกลุ่มดาวไถ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 6 ปีแสง จากกระสวย อวกาศที่ส่งขึ้นไป ทำให้เราได้ข้อมูลที่สำคัญซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในวงการดาราศาสตร์ ในการสำรวจครั้งนี้นักบินอวกาศได้ใช้กล้องส่องทางไกล Hubble Space Telescope สาเหตุการสำรวจมุ่งสู่กลุ่มดาวไถก็เพราะที่นี่เป็นแหล่งที่มีดวงดาวใหม่ๆเกิดขึ้นมากที่สุด ก่อนนี้มีการสำรวจกลุ่มดาวไถมาแล้ว แต่กล้องส่องทางไกลที่ใช้ขณะนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน นักดาราศาสตร์จึงมองเห็นภาพเป็นเพียงวงหรือจุดเลือนราง และไม่แน่ใจสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไรกันแน่ อย่างไรก็ตาม Robert O’Dell นักดาราศาสตร์แห่งมหาลัย Rice ในรัฐเท็กซัส ได้สันนิษฐานว่า จุดเหล่านั้นอาจเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวดสงใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเช่นนั้นอีกต่อไปอาจมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตบ้างก็เป็นได้ เพราะบนดาวเคราะห์เท่านั้นที่จะมีสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นได้

ในการสำรวจดาวไถครั้งนี้ Robert O’Dell ยืนยันว่า ภาพที่มองเห็นมีความชัดเจนและถูกต้องตามความจริง กล่าวคือ ที่ตรงใจกลางของกลุ่มดาวไถมีดวงดาวอยู่ 110 ดวง ในจำนวนนี้มีอยู่ 56 ดวง ที่มีก้อนฝุ่นรูปร่างกลมหมุนอยู่โดยรอบ ซึ่งในการสำรวจครั้งก่อนเคยเห็นเป็นจุดเลือนรางเท่านั้น กลุ่มดาวที่มีแสงสว่างและช่วยให้เรามองเห็นดวงดาวอื่นๆที่อยู่ท่ามกลางก๊าซและฝุ่นผฝได้ชัดเจนขึ้น คือ กลุ่มดาว Trapezium ดวงดาวในกลุ่มดาวไถส่วนใหญ่เป็นดาวที่เกิดขึ้นใหม่ มีก๊าซและฝุ่นผงอยู่โดยรอบ และมีอายุราว 3 แสนถึง 1 ล้านปีเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นดาวที่มีอายุน้อยมาก เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอายุราว 4.5 พันล้านปีแล้ว
 
 
 
ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-371.html 31 มกราคม 2556

สารเคมี

 

สารเคมี

    
สารเคมี (อังกฤษ: chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในหรือได้จากกระบวนการเคมี อาทิ
  • สารประกอบเคมี (chemical compound) คือสสารที่ประกอบด้วย ธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมาผสมกันทางเคมีในอัตราส่วนที่แน่นอน
  • ธาตุเคมีเป็นสสารที่ไม่สามารถแบ่งให้เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากสารเคมีเดิมได้อีก เพราะอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเราเรียกว่า อะตอมซึ่งประกอบด้วย อิเล็กตรอน โคจรรอบจุดศูนย์กลางที่เรียกว่า นิวเคลียส ที่ประกอบ โปรตอน และ นิวตรอน
  • โมเลกุล เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสารประกอบที่ยังมีคุณสมบัติของสารประกอบเดิมนั้นอยู่
  • ไอออน เป็น อะตอม หรือ กลุ่มของอะตอมที่สูญเสียประจุไฟฟ้าเรียกว่า แคตไอออน หรือเพิ่มเรียกแอนไอออน อิเล็กตรอน
  • ปฏิกิริยาเคมี เป็นกระบวนการที่สสาร หนึ่ง สอง หรือมากกว่า (เรียกว่า รีแอกแตนต์) มาผสมรวมกันแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสารตั้งต้น




ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5  31 มกราคม 2556

ชั้นบรรยากาศ








บรรยากาศ เป็นชื่อเรียกขององค์ประกอบของสสาร อันประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน และก๊าซอื่น ๆ โดยเป็น อากาศที่ห้อหุ้มโลก มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กม.
องค์ประกอบ
1.ก๊าซไนโตรเจน (N2)
มีคุณสมบัติไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารอื่น แต่เมื่ออะตอมเดี่ยวของมันแยกออกมา รวมเข้าเป็นองค์ประกอบของสารอื่น เช่น สารไนเตรท จะมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต
2.ก๊าซออกซิเจน (O2)
เป็นผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงของพืช สาหร่าย แพลงตอน และสิ่งมีชีวิต มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับสารอื่น และช่วยให้ไฟติด ถ้าปริมาณของออกซิเจนในอากาศมีมากกว่า 35% โลกทั้งดวงจะลุกไหม้ติดไฟ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตบนโลกจึงวิวัฒนาการให้มีสัตว์ ซึ่งใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญธาตุอาหาร และคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
3.ก๊าซอาร์กอน (Ar)
เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น เกิดขึ้นจากการสลายตัว (ซากกัมมันตภาพรังสี) ของธาตุโปแตสเซียมภายในโลก
4.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
มีอยู่ในบรรยากาศเพียง 0.036% แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกจากโลก ทำให้โลกอบอุ่น อุณหภูมิของกลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างจนเกินไป นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นแหล่งอาหารของพืช

ชั้นบรรยากาศ

แบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้
1.โทรโพสเฟียร์ (troposphere)
เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 10 กม. อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามระดับความสูง และเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศด้วย.
2.สตราโทสเฟียร์ (stratosphere)
เป็นชั้นที่มีเสถียรภาพต่ำสุด มีความสูงตั้งแต่ 10-50 กม. อุณหภูมิในระดับล่างของชั้นนี้จะคงที่จนถึงระดับความสูง 20 กม. จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น
3.มีโซสเฟียร์ (mesosphere)
เป็นช่วงบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดินในช่วง 50-80 กม.อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง ตั้งแต่ชั้นแรกถึงชั้นนี้อากาศยังเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ ทั้ง 3 ชั้นรวมทั้งหมดเรียกว่า โฮโมสเฟียร์ (homosphere)
4.เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)
เป็นช่วงบรรยากาศที่มีระดับความสูง 80-500 กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (เนื่องจากใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น) จนถึงระดับประมาณ 100 กม. จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นนี้คือ 227-1727 องศาเซลเซียส ชั้นนี้ยังมีแก็สที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิดได้ เราอาจเรียกชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ก็ได้
5.เอกโซสเฟียร์ (exosphere)
เริ่มตั้งแต่ 500 กม.จากผิวโลกขึ้นไป บรรยากาศชั้นนี้เจือจางมากจนไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ไม่มีรอยต่อที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศกับอวกาศ มีอุณหภูมิประมาณ 726 องศาเซลเซียส ถึงแม้อุณหภูมิจะสูงแต่เนื่องจากอากาศเบาบางมาก จึงแทบไม่มีผลต่อยานอวกาศ



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8 31 มกราคม 2556

สัตว์ใต้ทะเล

 
 
 
 
 
 
สัตว์ทะเล
 
 
ทะเลไทยอันอุดมทะเลไทยเป็นทะเลน้ำอุ่น น้ำทะเลสีเขียวสวยเป็นประกายเมื่อต้องแสงแดดจัดจ้าตลอดทั้งปี ทะเลไทยแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ อ่าวไทย ซึ่งเป็นอ่าวขนาดใหญ่ส่วนหนึ่ง กับทะเลอันดามันซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาคใต้อีกส่วนหนึ่งอ่าวไทยอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน คือ อ่าวไทยตอนบนหรือก้นอ่าว มีรูปร่างเหมือนตัว ก ส่วนอ่าวไทยตอนล่างผายกว้างออกไปบรรจบกับทะเลจีนใต้ พื้นทะเลก้นอ่าวไทยตอนนอกโค้งเว้าเป็นแอ่งเหมือนก้นกระทะ โดยทั่วไปอาจถือได้ว่าอ่าวไทยเป็นอ่าวตื้น เพราะส่วนที่ลึกที่สุดประมาณ ๘๕ เมตร ก้นอ่าวไทยเป็นที่รวมของแม่น้ำสำคัญหลายสายมี แม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง แม่น้ำเหล่านี้พัดพาเอาน้ำจืด แร่ธาตุ และสารอินทรีย์จำนวนมหาศาลไหลมาลงทะเลด้วย ทำให้น้ำทะเลบริเวณก้นอ่าวไทยมีความเค็มต่ำ เป็นที่เกิดของแพลงตอนพืช ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ทะเลหลายชนิด ในอ่าวไทยจึงอุดมไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจำนวนมาก เช่น ปลาทู ซึ่งจะเวียนว่ายเข้ามาหากินเป็นฝูง ๆ ฝูงละนับพันนับหมื่นตัวเป็นประจำนอกจากปลาทูแล้ว ตามชายทะเลรอบอ่าวไทยซึ่งมีความยาวมากกว่าหนึ่งพันกิโลเมตร เคยมีป่าชายเลนมากมาย จึงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกุ้งทะเล กั้ง ปูทะเล ปูม้าหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกะพง หอยนางรม ปลากะพง ปลากุเรา และปลาอื่นๆอีกหลายชนิด ส่วนทางด้านทะเลอันดามัน ชายฝั่งทะเลด้านนี้สั้นกว่าฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยประมาณสองเท่า ทะเลอันดามันเป็นทะเลเปิดและเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย น้ำเค็มจัดพื้นท้องทะเลเป็นโคลน หิน และทราย ทะเลอันดามันได้ชื่อว่าเป็นทะเลที่มีแนวปะการังงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
 
 
 
มีอะไรในน้ำทะเล ถ้าเราไปที่หาดทรายชายทะเล เราจะรู้สึกว่าทะเลนั้นสวยงามแต่ดูลึกลับ อาจเป็นเพราะว่ากว้างใหญ่สุดคณานับ มองไปจนสุดสายตาก็ยังเห็นน้ำทะเลอยู่ไกลลิบๆ โดยทั่วไปน้ำทะเลมีขึ้นมีลงวันละสองเวลา แต่บางแห่งขึ้นลงเพียงวันละครั้ง หรืออาจจะปนกัน เมื่อน้ำทะเลขึ้น น้ำจะเอ่อสูงขึ้นๆ ทุกทีจนท่วมหาดทรายเกือบหมด น้ำขึ้นมาสูงจนถึงขอบฝั่ง จากนั้นระดับน้ำก็จะเริ่มลดลง เรียกว่าเป็นเวลาน้ำลง น้ำทะเลจะลดระดับต่ำลงๆ ไปทุกที หาดทรายที่เปียกชุ่มด้วยน้ำทะเลก็จะโผล่ขึ้นให้เห็นใหม่อีก เราอาจนึกไม่ถึงว่าข้างใต้พื้นทรายนี้มีสัตว์ทะเลใหญ่น้อยจำพวกหอย ปู กุ้ง และ หนอนทะเล อาศัยอยู่มากมาย


ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=51    31 มกราคม 2556

ระบบนิเวศ

 
 
ระบบนิเวศ

(ECOSYSTEM)


1. ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem)

ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วง ๆในห่วงโซ่อาหารได้ การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

 


2. องค์ประกอบของระบบนิเวศ
การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศแยกตามหน้าที่ในระบบ ได้แก่พวกที่สร้างอาหารได้เอง (autotroph) และสิ่งมีชีวิตได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) อย่างไรก็ตามการจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศโดยทั่วไปมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic) และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic)
2.1 องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่
2.1.1 ผู้ผลิต (producer or autotrophic) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์
2.1.2 ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (heterotroph) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เนื่องจากสัตว์เหล่านี้มีขนาดใหญ่จึงเรียกว่า แมโครคอนซูมเมอร์ (macroconsumer)
2.1.3 ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer, saprotroph, osmotroph หรือ microconsumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา (fungi) และแอกทีโนมัยซีท (actinomycete) ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก
 
2.2 องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่
2.2.1 สารอนินทรีย์ (inorganic substances) ประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอนินทรีย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์สิ่งมีชีวิต เช่น คาร์บอน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นต้น สารเหล่านี้มีการหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศ เรียกว่า วัฏจักรของสารเคมีธรณีชีวะ (biogeochemical cycle)
2.2.2 สารอินทรีย์ (organic compound) ได้แก่สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยทับถมกันในดิน (humus) เป็นต้น
2.2.3 สภาพภูมิอากาศ (climate regime) ได้แก่ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น อากาศ และพื้นผิวที่อยู่อาศัย (substrate) ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยจำกัด (limiting factors)
 
 
ที่มา http://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html 31 มกราคม 2556